วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทวิเคราะห์

บทวิเคราะห์เศรษฐกิจพอเพียง
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม จะสังเกตได้จากภูมิประเทศที่มีทรัพยากรต่าง ๆ มากมายที่เหมาะสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม รวมทั้งภูมิสังคมที่สมาชิกภายในสังคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่มีความผูกพันกับธรรมชาติและเลี้ยงชีพด้วยการเกษตร แต่เมื่อความเจริญเข้ามา เราถูกหลอกให้หลงเชื่อกับคำว่า “พัฒนา” บิดเบียนไปจากแนวทางที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นมายาคติที่ต่างชาติที่เป็นประเทศอุตสาหกรรม ได้วางไว้ หลอกให้เราเดินตาม และหลงเชื่อว่าถ้าเราต้องการเป็นประเทศที่เจริญก็ต้องทำตามแบบอย่างเขา ต้องพัฒนาในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรม ไทยเราก็หลงเชื่อเร่งพัฒนาประเทศ เดินตามทางที่ต่างชาติได้ปูไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลอกหลวง และเมื่อเราได้ทำตามในขั้นหนึ่งแล้ว ต่างชาติก็จะสร้างมาตรฐานขี้นมาควบคุมเราอีกชั้น เราก็พยายามที่จะทำให้ได้อย่างที่เขาบอก สิ่งที่เขาสร้างขึ้นมาอีกที นั่นก็คือ ISO เราก็จะเดินตามเขาอย่างนี้ไม่รู้จบ จนทำให้เราลืมในสิ่งที่ตนมี ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี มีค่า มีประโยชน์ นั่นก็คือเกษตรกรรมนั่นเอง เช่นกรณีคนในชนบทอพยพไปหางานทำในเมืองใหญ่ ละทิ้งภาคเกษตรกรรมมุ่งสู่ภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่นปัญหาสังคม ปัญหาภาวะเป็นพิษทางด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง อากาศ น้ำ ดิน รวมทั้งปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๐ ด้วย เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นที่รักของประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ ตั้งแต่ที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทรงอุทิศพระวรกายในการทรงงานเพื่อความผาสุกของ ผสกนิกชาวไทย สถานที่ใดที่ประชาชนเดือดร้อน พระองค์ก็เข้าไปศึกษาทำความเข้าใจและหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยพระปรีชาสามารถตลอดมา และจากเหตุการณ์กรณีเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๐ ดังกล่าว พระองค์ก็ทรงทราบและได้พระราชทานแนวทางในการแก้ปัญหา ที่พระองค์ได้คิดค้นก่อนหน้านี้ (พ.ศ.๒๕๑๗) เพื่อที่จะช่วยให้ประเทศไทยผ่านวิกฤติการณ์ดังกล่าวให้ได้ แนวทางนั้นก็คือเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางให้ประชาชนทุกคนสามารถช่วยตนเองได้ มีความเป็นอยู่ที่ดี ใช้ชีวิตด้วยความพอประมาณ มีเหตุมีผล ตามทางสายกลาง เมื่อทุกคนสามารถช่วยตนเองได้แล้ว ก็จะหันหน้าเข้าหากันคอยช่วยเหลือชึ่งกันและกันต่อไป
รวมทั้ง

ทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดการที่ดินและน้ำ รวมทั้งการใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งทั้งเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่นี้ถ้าใช้ควบคู่กัน จะทำให้ประเทศชาติเจริญ ด้วยความมั่นคง ยั่งยืน และสมดุล ด้วยรากฐานทางเกษตรกรรม (สำหรับรายละเอียดของทั้งสองเรื่องนี้ (เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่สามารถติดตามอ่านได้ที่องค์ความรู้ในหัวข้อเดียวกัน)
สำหรับทหารกับการพัฒนานั้น ทหารนอกจากจะมีหน้าที่ในการป้องกันและรักษาอธิปไตยของชาติในยามศึกสงครามแล้ว ในยามปกติทหารก็มีหน้าที่ในการป้องกันและรักษาไว้ซึ่งอธิปไตยของชาติเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมกำลังรบ การพัฒนาประเทศ ยิ่งศรัตรูที่มองไม่เห็นและมาในรูปแบบต่าง ๆ ที่มองไม่เห็นตัวตน ยิ่งอันตรายกว่าในยามสงครามดังนั้นทหารจึงต้องเตรียมพร้อมที่จะรับมือทุกเมื่อ และหน้าที่ที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งก็คือ การดำรงและรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ด้วยการแสดงออกถึงความจงรักภักดี วิธีการหนึ่งก็คือการสนับสนุนโครงการในพระราชดำริ โครงการหลวงต่าง ๆ โดยเฉพาะเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี สามารถช่วยตนเองได้ ตัวอย่างกิจกรรมด้านต่าง ๆ ที่ทหารได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริ ได้แก่
1. กองทัพกับการพัฒนาทางด้านการเมือง
2. กองทัพกับการพัฒนาด้านสังคมและจิตวิทยา

3. การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบสาธารณะภัย
4. กองทัพกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น